Toggle navigation
โครงการรักษาศีล 5
โรงเรียน
โครงการโรงเรียนรักษาศีล ๕
- หน้าหลักโครงการ
- อธิบายโครงการ
- สื่อชั่วโมงสุขจริงหนอ
- รายงานผล
โครงการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
- หน้าหลักโครงการ
องค์กร
โครงการสถานประกอบการรักษาศีล ๕
- หน้าหลักโครงการ
- อธิบายโครงการ
- รายงานผล
หมู่บ้าน
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
- อธิบายโครงการ
- สื่อชั่วโมงสุขจริงหนอ
- รายงานผล
สื่อวีดีโอ
ข่าวสาร
บทความ
ติดต่อเรา
หน้าหลัก
โครงการโรงเรียนรักษาศีล ๕
รายงานผล
รายงานผลโรงเรียนในแต่ละรอบปีการศึกษา
วางแผนกิจกรรม
วางแผนกิจกรรม
โรงเรียนหาดสนุกราษฏร์บำรุง
ระดับ : 1
แผนกิจกรรม
ภาพฝันห้องเรียนแห่งความสุข
การที่นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข โดยที่ครูและนักเรียนเป็นครูซึ่งกันและกัน ครูเรียนรู้จากนักเรียน และนักเรียนเรียนรู้จากครู เราต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
แผนปฏิบัติการ
แบบบันทึกการวางแผน (ภารกิจ M1 ก้าวหน้า) (เขียนด้วยตัวบรรจง หรือพิมพ์ในโปรแกรม word) 1.ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ชื่อสถานศึกษา: โรงเรียนหาดสนุกราษฎร์บำรุง ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัด:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 เปิดสอนระดับชั้น: อนุบาล 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้บริหาร (ชื่อ - นามสกุล) นางธัณย์สิตา สุรศิษย์ชานล ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน โทรศัพท์ 0892057166 ครูผู้ประสานงาน 1. (ชื่อ - นามสกุล) นางสาวสิริรัตน์ นามสว่าง ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โทรศัพท์ 0933255905 2. (ชื่อ – นามสกุล) ว่าที่ร้อยตรีหญิงกิรณา ทองเกิด ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง โทรศัพท์ 0642631441 จำนวนบุคลากรในสถานศึกษา 23 .คน จำนวนนักเรียนในสถานศึกษา 452 คน จำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 50 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระบุสถานะปัจจุบันว่าสถานศึกษาของท่านอยู่ในระดับใด ของโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพฯ ภารกิจ M1 ก้าวหน้า 2. กำหนดเป้าหมาย ท่านสามารถกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน และพัฒนาพฤติกรรมเชิงบวก ทักษะชีวิตที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ตามบริบทของสถานศึกษาที่ท่านรับผิดชอบ หรือนำข้อมูลมาจากรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ในปีที่ผ่านมา 2.1 สาเหตุของปัญหา ในการตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และการพัฒนาพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกและทักษะชีวิตที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในสถานศึกษา โรงเรียนหาดสนุกราษฎร์บำรุงเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่ตั้งอยู่ในบ้านนิคมกม. 5 อำเภออ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพบว่าพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง คือ การกล่าววาจาหยาบคายโดยไม่รู้ตัวของนักเรียนและการไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากการวิเคราะห์สาเหตุหลักที่พบ มาจากบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัวมีพฤติกรรมการพูดหยาบคายที่โรงเรียนและในสื่อต่าง ๆ รวมทั้งการรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ถูกปล่อยปะละเลยทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียน ส่วนพฤติกรรมที่ต้องการพัฒนาคือการทำสมาธิ การปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมการปลูกฝังให้มีความคิดในแง่บวกหรือเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดีเพื่อเสริมสร้างพลังบวกให้กับชีวิตซึ่งทักษะนี้เป็นพื้นฐานชีวิตที่สำคัญของการเกิดทักษะการคิดการเรียนรู้ในความแตกต่างของบุคคลและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุขมีความสุขบนพื้นฐานต่อการเข้าใจธรรมชาติของสังคม 2.2 เป้าหมายในการปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษา (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) 1) นักเรียนที่มีพฤติกรรมพูดจาหยาบคาย นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พูดจาหยาบคายร้อยละ 60 มีนักเรียนพูดจาหยาบคายลดลงร้อยละ 20 ด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดีในภาคเรียนที่ 1/2567 2) นักเรียนที่ไม่ทำความสะอาดบริเวณเขตที่รับผิดชอบ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไม่ทำความสะอาดบริเวณเขตที่รับผิดชอบร้อยละ 40 มีนักเรียนไม่ทำความสะอาดบริเวณเขตที่รับผิดชอบลดลงร้อยละ 10 ด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดีในภาคพื้นที่ 1/2567 3) นักเรียนที่ไม่ส่งการบ้าน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไม่ส่งการบ้านร้อยละ 40 มีนักเรียนไม่ส่งการบ้านลดลงร้อยละ 10 ด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดีในภาคเรียนที่ 1/2567 2.3 เป้าหมายการพัฒนาพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกและทักษะชีวิตที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในสถานศึกษา (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) 1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนพัฒนาทักษะการนั่งสมาธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดีในภาคเรียนที่ 1/2567 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดีในภาคเรียนที่ 1/2567 3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนพัฒนาทักษะการคิดที่ดีมองโลกในแง่บวกเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดีในภาคเรียนที่ 1/2567 3. ออกแบบวางแผนการทำกิจกรรมตามแนวทาง นวัตกรรม 7 กิจวัตรความดี ที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในข้อที่ 1 (ระบุ ใคร ทำอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เท่าไร 5 W 2H ) กิจวัตรความดี กิจกรรมภาคเรียนที่ 1 (พัฒนารายบุคคล) กิจกรรมภาคเรียนที่ 2 (สร้างกระบวนการกลุ่ม) รักษาศีล 5 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนรับฟังการบรรยายเรื่องศีล 5 จากคุณครู และพระอาจารย์ รวมทั้งฝึกการอาราธนาศีลในทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนร่วมกันวิเคราะห์พฤติกรรมการรักษาศีล 5 จากสถานการณ์ที่กำหนดให้และนำเสนอพฤติกรรมดังกล่าวรวมถึงอานิสงส์ของการรักษาศีล 5 สวดมนต์/นั่งสมาธิ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนฝึกปฏิบัติการสวดมนต์นั่งสมาธิ รวมทั้งการเจริญสติในรูปแบบต่าง ๆ ในทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนฝึกปฏิบัติการสวดมนต์ นั่งสมาธิ รวมทั้งการเจริญสติในรูปแบบต่าง ๆ ในทุกวันศุกร์ของสัปดาห์โดยผู้นำปฏิบัติคือสภานักเรียนนักเรียนเป็นผู้นำของนักเรียนเอง สะอาด ระเบียบ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนทำเวรประจำวันและทำความสะอาดบริเวณที่รับมอบหมายเป็นประจำทุกวัน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนสามารถสอน สาธิต การอธิบายหลักการและวิธีการทำความสะอาดและจัดระเบียบที่ถูกต้องได้โดยเป็นตัวอย่างที่ดีให้บุคคลรอบข้างทำตามได้อย่างถูกต้อง จับดีคนรอบข้าง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน เขียนหรือพูดถึงความดี ความประทับใจ การขอบคุณ-ขอโทษถึงบุคคลรอบข้าง เช่น คุณพ่อคุณแม่ คุณครู หรือเพื่อนอย่างน้อยวันละ 1 เรื่องผ่านการนำเสนอหน้าเสาธงหรือในชั้นเรียนก่อนเริ่มการเรียนในตอนเช้า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน แบ่งกลุ่มระดมความคิดจับดีเพื่อนแต่ละกลุ่มและสรุปข้อดีและประโยชน์ในการจับดีผู้อื่นเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้นำไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง พูดจาไพเราะ คุณครูปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน โดยพูดด้วยคำสุภาพ ทั้งต่อหน้าและลับหลังและฝึกให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนพูดลงท้ายประโยคด้วยคำว่าครับ/ค่ะ ในทุกครั้ง ในการตั้งกฎถ้าทำผิด โดยการลงโทษจะเป็นการลงโทษที่ยุติธรรมและเหมาะสมกับความผิดเมื่อนักเรียนได้รับโทษครูต้องอธิบายเหตุผลเสมอ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนสื่อสารการเลือกให้คำสุภาพซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจึงเกิดความคุ้นเคยที่สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีในกลุ่มนักเรียน ทำบุญ/บำเพ็ญประโยชน์ ดำเนินการกิจกรรมวันสำคัญโดยปลูกฝังให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนเข้าวัดทำบุญทำความสะอาดบริเวณวัดรวมถึงการฟังธรรมตามกาลและดำเนินกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนในการบำเพ็ญประโยชน์โดยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นฝึกการทำงานเป็นทีมให้กับน้อง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นต้นแบบเหมือนรุ่นพี่ต่อภารกิจและกิจกรรมให้แกนนำรุ่นต่อไป กิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ จัดกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอในชั้นเรียนโดยให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนแลกเปลี่ยนความดีได้ชั้นเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้งโดยเนื้อหาจากสื่อในเว็บไซต์ Sila5.com สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงจนครบ 12 สัปดาห์ ผู้สร้างแรงบันดาลใจจากสื่อในเว็บไซต์ Sila 5.com พร้อมกับนำเสนอหน้าเสาธง 4. ขั้นตอนการวางแผน กำกับติดตาม สมุดบันทึกความดี ในรูปแบบ PLC (Professional Learning Community) 1) ผู้อำนวยการโรงเรียนพร้อมด้วยคณะครูร่วมประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานในกิจกรรมเสร็จ กิจวัตรความดีภายใต้โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น 2) ผู้อำนวยการโรงเรียนพร้อมด้วยคณะครูดำเนินการจัดกิจกรรม 7 กิจวัตรความดีทุก ๆ วันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ 3) ผู้อำนวยการโรงเรียนความได้คณะครูชี้แจงผู้ปกครองและนักเรียนให้ทราบถึงแนวทางและประโยชน์ของการบันทึกความดีลงในสมุดบันทึกความดีอย่างสม่ำเสมอจนครบ 12 สัปดาห์ 4) ครูประจำชั้นตรวจสมุดบันทึกความดีของนักเรียนและประกาศแสดงและแสดงความคิดเห็นกำกับทุกครั้งและนักเรียนต้องบันทึกความดีลงในสมุดบันทึกความดีให้ครบ 12 สัปดาห์ 5) เมื่อนักเรียนบันทึกความดีลงสมุดบันทึกความดีจนครบ 12 สัปดาห์ควรประจำชั้นในแต่ละชั้นคัดเลือกนักเรียนที่ประพฤติตนดีโดยปฏิบัติตาม 7 กิจวัตรความดีทั้ง 7 ประการอย่างสม่ำเสมอจากนั้นให้นักเรียนออกมานำเสนอความดีของตนเองด้านสังคมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่นได้ปฏิบัติตาม ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากนำนวัตกรรม 7 กิจวัตรความดี มาใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน (ให้คิดเป็นร้อยละเพื่อให้เห็นเส้นการพัฒนาที่ชัดเจนขึ้น) 1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนไม่พูดหยาบคาย มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไปด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดี 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนทำความสะอาดบริเวณเขตที่รับผิดชอบมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไปด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดี 3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนส่งการบ้านตรงเวลามากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไปด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดี 4) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คนมีทักษะการคิดที่ดีและมองโลกในแง่บวกมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไปด้วยการทำ 7 กิจวัตรความดี ลงชื่อ สิริรัตน์ (นางสาวสิริรัตน์ นามสว่าง) ครูผู้ประสานงานโครงการ ลงชื่อ................................................. (นางธัณย์สิตา สุรศิษฐ์ชานล) ผู้บริหารสถานศึกษา วันที่ 8/มิถุนายน/2567 โทร. 0-8691-75718 (นายนิพันธุ์ ทาดี) ผู้ประสานงานโครงการ หรือ Email : sila5episode2@gmail.com
แผนกิจกรรม (PDF)
ดูไฟล์แผนกิจกรรม (PDF)